NMF ( Natural Moisturizing Factor ) : จะทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันและเก็บความชุ่มชื้นของผิว  ถ้าขาดไขมันประเภทนี้ลดลงก็จะทำให้ผิวแห้งและรู้สึกตึงและหยาบกร้าน  ชั้นหนังกำพร้านี้จะถูกปกคลุมด้วยการผสมของน้ำและไขมันที่เรียกว่า จะประกอบด้วย

  • กรด Lactic ( Lactic acid ) จากเหงื่อ , กรดไขมัน ( Free fatty acid ) จากน้ำมันที่ผลิตจากต่อมไขมัน ( Sebaceous Lipid ) , กรดอมิโน ( Amino acids ) และ สารในกลุ่มโปรตีนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ผลิตขึ้นมาจากขบวนการสร้างเซลล์หนังกำพร้า เช่น Filaggrin
  • Ceramide คือสารจำพวกไขมัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) มีหน้าที่ในการปกป้องเซลล์จากสิ่งแปลกปลอมภายนอก และยังมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ผิวหนังสามารถทำหน้าที่อุ้มน้ำ และรักษาระดับการซึมผ่านของน้ำในผิวหนัง  โดย Ceramide จะพบได้ที่ชั้นหนังกำพร้า หน้าที่ของ Ceramide คือ จะเป็นตัวเชื่อม Keratin ให้เกิดการเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ ช่วยให้ผิวแข็งแรง และ ลดการสูญเสียน้ำของผิว

ความสำคัญของน้ำต่อผิวหนัง
            น้ำมีความสำคัญต่อผิวหนังอย่างมาก โดยเป็นตัวที่ช่วยให้ผิวมีความนุ่มเนียนและคงความยืดหยุ่นของผิวไว้ นอกจากนี้ในกระบวนการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกนั้น เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวต้องอาศัยน้ำในการทำงาน ดังนั้นถ้าปริมาณน้ำในผิวลดลงอาจทำให้กระบวนการนี้ผิดปกติและเกิดเป็นขุยหรือสะเก็ดปกคลุมผิวหนังได้ ผิวที่ชุ่มชื้นจะมีความแข็งแรงและทนต่อสภาวะแวดล้อมและมลภาวะ 

 

กลไกการรักษาน้ำตามธรรมชาติของผิว
            ผิวหนังชั้นนอกสุด(stratum corneum)หรือที่เรียกว่า “ชั้นขี้ไคล” ทำหน้าที่หลักในการรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิว ผิวหนังชั้นนี้ จะประกอบด้วยเซลล์ผิวหนังที่ไม่มีชีวิตเรียงซ้อนกันเป็นชั้นหนาประมาณ10-20ชั้น ภายในเซลล์เหล่านี้จะมีสารจำพวกโปรตีนที่เรียกว่า เคอราติน (keratin) และ Natural Moisturizing Factors (NMF) ซึ่งมีคุณสมบัติในการซึมซับอุ้มน้ำได้มากและเป็นตัวช่วยเก็บกักน้ำไว้ในผิว ระหว่างเซลล์จะมีไขมันแทรกอยู่เป็นชั้น ๆ ทำหน้าที่อุดกั้นไม่ให้น้ำสามารถผ่านออกจากเซลล์เหล่านี้ไปยังสิ่งแวดล้อมภายนอก นอกจากนี้ต่อมไขมันที่ผิวหนังจะสร้างสารไขมันหลั่งออกตามรูขุมขน สารไขมันจะแผ่อออกเคลือบผิวของชั้นหนังกำพร้า ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้นมากขึ้นอีกด้วย
            ปกติคนเราควรมีปริมาณน้ำในผิวหนัง 20-35% ถ้าปริมาณน้ำลดลงน้อยกว่า10% จะเกิดภาวะ ผิวแห้งขึ้น โดยผิวจะมีความยืดหยุ่นลดลงและลักษณะหยาบ เป็นขุย ถ้าแห้งมากอาจแตกเป็นร่อง แดง คัน และเกิดผื่นผิวหนังอักเสบตามมาได้ในที่สุด

ปัจจัยที่มีผลต่อความชุ่มชื้นของผิวหนัง

 

    • พันธุกรรม ลักษณะผิวหนังของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นกับพันธุกรรมของแต่ละคนว่ามีลักษณะผิวอย่างไร นอกจากนี้โรคทางผิวหนังหลายชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง จะทำให้มีผิวแห้งกว่าคนปกติ
      • สภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมรอบตัวเรามีอิทธิพลต่อการเกิดผิวแห้งอย่างมาก ในประเทศไทยมีความชื้นในบรรยากาศสูงทำให้อุบัติการณ์โรคผิวแห้งไม่สูงเท่าประเทศแถบตะวันตก อย่างไรก็ตามควรระวังในฤดูหนาว เนื่องจากอากาศเย็นและความชื้นในบรรยากาศจะลดลงมากจนทำให้การสูญเสียน้ำออกจากผิวหนังเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ผิวหนังอักเสบจากความแห้ง
      • อายุ เมื่อคนเราอายุมากขึ้น กลไกธรรมชาติที่ผิวหนังรักษาความชุ่มชื้นไว้จะลดน้อยลง ต่อมไขมันและเซลล์ผิวหนังจะสร้างสารไขมันลดลง เราจึงมักเห็นผิวแห้งเกิดขึ้นกับผู้สูงวัย โดยเฉพาะสตรีวัยทอง ที่มีอายุตั้งแต่45 ปีขึ้นไป

       

        • พฤติกรรมและการดำเนินชีวิต ผู้ที่ชอบล้างมือบ่อย ๆ ฟอกตัวด้วยสบู่ที่เป็นด่างนานๆ ออกแดดประจำหรือทำงานกลางแจ้ง ทั้งสารเคมี แสงแดด ลม ความชื้นในบรรยากาศ จะมีอิทธิพลต่อการเสียน้ำออกจากผิวหนัง จนทำให้เกิดภาวะผิวหนังแห้ง
                      นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่มีผลกระทบต่อความชุ่มชื้นผิวหนัง เช่น ระดับฮอร์โมน ยาบางชนิด ภาวะโภชนาการบกพร่อง ซึ่งการป้องกันไม่ให้เกิดผิวแห้ง ต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยต้นเหตุดังที่กล่าวมา โดยสวมถุงมือ เสื้อผ้าให้มิดชิด และทาครีมหรือโลชั่นเคลือบผิวที่เรียกว่า Moisturizer

 

    • ผิวขาดความชุ่มชื้น หรือ ผิวขาดน้ำ แปลว่าอะไร

       

        • ลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่าและการสัมผัส คือผิวจะมีลักษณะไม่เรียบเนียน เห็นเป็นขุย และการสัมผัสจะไม่เรียบเนียน ไม่ลื่น  ตัวผู้ที่ผิวขาดความชุ่มชื้นอาจมีความรู้สึกตั้งแต่แค่ความรู้สึกตึงผิวหลังล้างหน้า หรือตึงผิวอยู่ตลอดเวลา คันหน้า หน้าลอก หรือถึงขั้นแสบแดงอักเสบ เวลาทาเจลหรือครีมบางอย่างอาจจะมีการคัน หรือแสบ หรือผื่นแดงระคายเคืองขึ้นได้

    • ผิวลื่น และ ผิวชุ่มชื้น เกิดจากอะไร : ผิวที่ลื่นและผิวที่ชุ่มชื้น จะประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลักคือ
      • ปัจจัยในผิวชั้นหนังกำพร้าที่มีสารที่เป็นตัวเชื่อมเซลล์ผิวชั้นหนังกำพร้าให้มีการเกาะตัวกันได้ดีให้เกิดความแข็งแรง เช่นสารในกลุ่ม ceramides , filaggrin ที่จะทำหน้าที่ให้เซลล์ผิวหนังเกาะกันได้ดีเพื่อเก็บกักกันไม่ให้น้ำในผิวระเหยออกไป  นอกจากนั้นการที่ผิวลื่นก็ต้องเกิดการผลัดเซลล์ผิวชั้นหนั้งกำพร้าส่วนบนสุดที่ตายแล้วออกไป  ให้เหลือแต่เซลล์ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าที่แข็งแรงที่ปกป้องผิว

       

        • ปัจจัยในผิวชั้นหนังแท้ที่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ ส่วนในชั้นหนังแท้ก็จะมีความชุ่มชื้นที่เก็บอยู่ในสารในกลุ่ม GAGs ( Glycosaminoglycans ) ซึ่งตัวที่เป็นที่รู้จักคือ Hyaluronic acid ที่มีลักษณะเหมือนฟองน้ำที่คอยอุ้มน้ำไว้ให้ผิวชั้นในเพื่อเก็บกักความชุ่มชื้นเอาไว้  และในผิวชั้นหนังแท้ยังต้องประกอบกับการที่มีสารที่เป็นโครงสร้างผิวนังโดยเฉพาะเส้นใยคอลลาเจนที่มีปริมาณมากพอและมีความแข็งแรงเพื่อทำหน้าที่เหมือนเป็นโครงสร้างที่ช่วยกักเก็บน้ำได้ดีขึ้น  เส้นใยคอลลาเจนที่มีคุณสมบัติที่ดีและมีประมาณมาก บวกกับ GAGs ที่ดีพอก็ยังทำหน้าที่เหมือนกับเป็นสิ่งที่ทำให้ผิวเกิดความฟูดันตัวขึ้นมาให้เต่งตึงไม่เหี่ยวย่น

 

    • การทำให้เกิดความชุ่มชื้นของผิวหนัง ก็อยากจะใช้แนวคิดการดูแลแบบ Outside IN และ Inside OUT
      • Outside IN : ได้แก่การเลือกผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ดูแลผิวให้เหมาะสมกับสภาพผิว อันได้แก่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Basic Skin care ที่เหมาะสมกับสภาพผิวของเรา ซึ่งประกอบด้วย
        • การเลือกสารทำความสะอาดผิวที่เหมาะสม ใช้แล้วหน้าไม่แห้งตึงไม่ลอก
        • ครีมบำรุงต่างๆที่เหมาะกับสภาพผิวและสภาวะอากาศในแต่ละฤดูการ
        • การปกป้องผิวจากแสงแดดโดยการใช้ครีมกันแดด ผิวทาครีม หรือ รับประทาน

       

        • Inside OUT : คือการดูแลจากภายในออกมา เช่น การดื่มน้ำให้เพียงพอ พักผ่อนให้เต็มที่ เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป รวมถึงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดที่ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้นแข็งแรงขึ้น เช่น คอลลาเจน วิตามินอี EPO น้ำมันปลา แอสตาแซนทิน